Anchoring and adjustment heuristic ของ Anchoring

Anchoring and adjustment heuristic (ฮิวริสติกการตั้งหลักและการปรับใช้)เป็นฮิวริสติก (คือวิธีการคิดแก้ปัญหา) ที่มีอิทธิพลต่อการประเมินค่าความน่าจะเป็นแบบรู้เอง (intuitive) ของมนุษย์โดยการใช้ฮิวริสติกนี้ เราจะเริ่มที่ค่าหลัก (anchor) ที่อาจจะมีการเสนอแบบอ้อม ๆ แล้วปรับใช้เป็นค่าประเมินคือเราจะมีหลักเป็นค่าประเมินเบื้องต้น (anchor) แล้วปรับค่าขึ้นลงอาศัยข้อมูลอื่น ๆ แต่ว่าการปรับค่ามักจะไม่ได้ทำอย่างเพียงพอ ทำให้หลักเบื้องตนมีอิทธิพลมากเกิดไปในการประเมินค่า

แดเนียล คาฮ์นะมันเป็นนักวิชาการพวกแรก ๆ ที่ศึกษาเรื่องการตั้งหลัก

ในปี ค.ศ. 1974 อะมอส ทเวอร์สกี้และแดเนียล คาฮ์นะมันได้คิดค้นทฤษฎีการตั้งหลักและการปรับใช้เป็นพวกแรกในงานศึกษาเบื้องต้นงานหนึ่งของพวกเขา มีการถามผู้ร่วมการทดลองให้คำนวณเลขภายใน 5 วินาที เป็นการคูณเลขตามลำดับตั้งแต่เลข 1 ถึง 8 โดยแสดงเป็น 1 × 2 × 3 × 4 × 5 × 6 × 7 × 8 {\displaystyle 1\times 2\times 3\times 4\times 5\times 6\times 7\times 8} หรือเป็น 8 × 7 × 6 × 5 × 4 × 3 × 2 × 1 {\displaystyle 8\times 7\times 6\times 5\times 4\times 3\times 2\times 1} แต่เพราะว่าผู้ร่วมการทดลองไม่มีเวลาพอที่จะคูณเลขทั้งหมด จึงต้องประเมินคือเดาคำตอบหลังจากคูณเลข 2-3 ตัวแรกถ้าผลคูณเลขตัวแรก ๆ มีค่าน้อย เพราะว่าเริ่มจากลำดับเลขน้อย ผลประเมินเฉลี่ยที่ผู้ร่วมการทดลองตอบจะอยู่ที่ 512 แต่ถ้ามีค่ามาก ผลประเมินเฉลี่ยก็จะอยู่ที่ 2,250(แต่ผลที่ถูกอยู่ที่ 40,320)

ส่วนในงานศึกษาอีกงานหนึ่งของพวกเขา มีการให้ผู้ร่วมการทดลองสังเกตดูล้อรูเล็ตต์ที่กำหนดไว้ก่อนตั้งแต่ต้นให้ตกอยู่ที่เลข 10 หรือ 65แล้วให้ผู้ร่วมการทดลองเดาเปอร์เซ็นต์ของประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่เป็นประเทศในแอฟริกาผู้ร่วมการทดลองที่ลูกรูเล็ตต์ตกลงที่ 10 เดาค่าเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำกว่า (25% โดยเฉลี่ย) ส่วนผู้ร่วมการทดลองที่ลูกรูเล็ตต์ตกลงที่ 65 เดาค่าเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่า (45% โดยเฉลี่ย)[2] รูปแบบเช่นนี้ปรากฏซ้ำ ๆ ในงานทดลองอื่น ๆ ที่เป็นการประเมินค่าอย่างอื่น ๆ มากมาย

อีกตัวอย่างหนึ่งเป็นงานศึกษาที่ให้ผู้ร่วมการทดลองเขียนเลขสองหลักสุดท้ายของเลขประกันทางสังคมของตน (ซึ่งโดยรวม ๆ แล้วเหมือนกับเป็นเลขสุ่มที่ให้แต่ละบุคคล) แล้วให้พิจารณาว่า ตนยินดีจะจ่ายเงินจำนวนเท่านี้ (เป็นดอลลาร์สหรัฐ) สำหรับสินค้าที่ตนไม่รู้มูลค่า เช่นไวน์ ช็อกโกแลต หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือไม่ต่อจากนั้นก็ให้ผู้ร่วมการทดลองประมูลสินค้าเหล่านี้ผลปรากฏว่า ผู้ร่วมการทดลองที่มีค่าเลขสูงกว่าจะทำการประมูลสินค้ามีค่า 60-120% มากกว่าผู้ที่มีค่าเลขต่ำกว่า คือผู้ร่วมการทดลองมีการใช้ค่าเลขประกันทางสังคมของตนเป็นหลักในการประมูลสินค้า[7]

ความยากที่จะหลีกเลี่ยงการตั้งหลัก

งานวิจัยต่าง ๆ แสดงว่า การตั้งหลักเป็นเรื่องยากที่จะป้องกันยกตัวอย่างเช่น ในงานวิจัยหนึ่ง มีการให้หลักที่ไม่สมเหตุสมผลคือมีการถามนักศึกษาสองกลุ่มว่าท่านมหาตมา คานธีเสียชีวิตก่อนหรือหลังวัย 9 ขวบ หรือก่อนหรือหลังอายุ 140 ปีเป็นเรื่องชัดเจนอยู่แล้วว่า เลขหลักเหล่านี้ไม่ใช่อายุที่ถูกต้อง แต่ว่า กลุ่มทั้งสองทำการเดาที่มีค่าต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ คือค่าเฉลี่ยที่ 50 ปี กับที่ 67 ปี[8]

มีงานวิจัยอื่น ๆ ที่พยายามจะกำจัดการตั้งหลักอย่างตรง ๆ ในงานวิจัยหนึ่งที่ศึกษาเหตุและลักษณะต่าง ๆ ของการตั้งหลัก มีการแสดงหลักให้กับผู้ร่วมการทดลองแล้วให้เดาว่า มีแพทย์กี่คนที่อยู่ในสมุดโทรศัพท์ (ขององค์การโทรศัพท์)นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการให้ข้อมูลตรง ๆ ว่า ปรากฏการณ์การตั้งหลักนั้นจะทำคำตอบของผู้ร่วมการทดลองให้เกิดความบิดเบือน และดังนั้น ผู้ร่วมการทดลองควรที่จะพยายามแก้ปัญหานั้นส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้ทั้งเลขหลักไม่ได้ทั้งข้อมูลไม่ว่าจะมีการให้ข้อมูลแก่ผู้ร่วมการทดลองอย่างไร ผู้ร่วมการทดลองในกลุ่มทดลองทั้งหมดล้วนแต่เดาจำนวนแพทย์ในสมุดโทรศัทพ์ ที่มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมดังนั้น แม้ว่าจะรู้ถึงปรากฏการณ์ตั้งหลัก แต่ผู้ร่วมการทดลองก็ยังไม่สามารถจะป้องกันความเอนเอียงที่เกิดขึ้นได้[9] มีงานใน ปี ค.ศ. 2010 ที่พบว่า แม้จะมีการให้รางวัลเป็นเงิน ผู้ร่วมการทดลองก็ยังไม่สามารถที่จะปรับค่าออกจากหลักให้เพียงพอ[10]

แหล่งที่มา

WikiPedia: Anchoring http://www.cfo.com/article.cfm/3014027 http://www.communicationcache.com/uploads/1/0/8/8/... http://books.google.com/books?id=gHmojkRIbcQC&pg=P... http://books.google.com/books?id=vZ_lnQEACAAJ //ssrn.com/abstract=900152 http://poseidon01.ssrn.com/delivery.php?ID=8970010... http://www.morgenkommichspaeterrein.de/ressources/... http://soco.uni-koeln.de/files/JESP35.pdf http://www.hss.caltech.edu/~camerer/Ec101/Judgemen... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16809528